วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เราจะเพิ่มอะไรให้โลกแห่งความรู้

วันนี้อยากคุยเรื่องของการศึกษาและการเพิ่มความรุ้ให้กับโลกแห่งความรุ้
จากประสบการณ์การเรียนที่ผ่านมาในชีวิต พบว่าความรุ้นั้นสามารถแยกออกเป็นได้หลายประเภท ดังนี้
1. ความจริง หรือ Fact อันนี้เป็นความรุ้ที่ตกผลึกและนิ่งแล้ว ยกตัวอย่างเช่น จุดเยือกแข็งของน้ำ คือ 0 องศาเซลเซียส จุดเดือดของน้ำอยู่ที่ 100 องศาอะไรประมาณนั้น คัมภีร์อัลกุรอ่านของเราก็ถือเป็นสัจธรรม เป็นแหล่งที่มาของความรู้ชนิดนี้เช่นเดียวกัน
2. สิ่งที่ได้มาจากการศึกษาเพิ่มเติม โดยเอาความจริงมาประกอบเพื่อก่อให้เกิดกรณีศึกษา ความรู้ประเภทนี้ จะเอาความรู้ในแบบที่หนึ่งมาปรับใช่กับสภาวะอะไรบ้างสภาวะที่ผู้ศึกษานั้นสนใจ และสรุปผลออกมาเป็นความรู้ใหม่ที่เพิ่มเติมองค์ความรู้จากเดิมให้มากขึ้นอีกนิด
3. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อนเลย ความรู้ประเภทนี้ ค่อนข้างจะหายากเพราะจะต้องเป็นการทำอะไรสักอย่างที่ชาวบ้านชาวช่องยังไม่เคยพูดถึงหรือเคยพบเจอมาก่อน อันนี้ตัวอย่างอาจต้องย้อนไปสักหน่อย อ้างถึง ไอซไตน์แล้วกัน ทฤษฏีสัมพันธ์ภาพ ต้นกำเนิดของปรมนูและนิวเครียร์ ถือเป็นความรู้ประเภทนี้ ซึ่งคนที่จะสร้างความรู้ประเภทนี้ขึ้นมานั้นต้องอาศัยความคิด และความฉลาดที่ไม่เหมือนชาวบ้านเอาสะมาก ไม่แปลกที่ความรู้ประเภทนี้ มักจะได้รับการยกย่องเป็น ผลงานชิ้นเอกของโลก และหลายๆ ความคิดได้รับรางวัลเช่นโนเบิลเป็นต้น

ในฐานะที่เป็นมุสลิม รู้สึกภาคภูมิใจเหลือเกินว่า ความรู้ทุกอย่างที่ยกตัวอย่างและที่อาจจะคาดไม่ถึงไม่ได้ระบุไว้นั้น ไม่มีสิ่งใดเลยที่อยู่นอกเหนือความรุ้ของอัลลอฮ์ของฉันเพราะอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงรอบรู้และคนในดุนยานี้จะรู้อะไรก็รุ้จากความรู้ของพระองค์และไม่มีอะไรที่เขารู้และอยู๋นอกเหนือความรู้ของพระองค์ ภูมิใจๆ

ที่นี้กลับมามองสังคมมุสลิมของเราบ้าง

ในเมืองไทย ในฐานะที่เป็นผู้แสวงหาความรู้ศาสนา เพราะเป็นคนไม่รู้ หลายครั้งหลายคน พยายามหาความรู้ที่อยากจะรู้แต่มักจะไม่เจอ สิ่งที่เขาเรียกว่าความรู้มันช่างหลากหลาย และหลายๆ อย่างก็เป็นความรู้ที่ซ้ำซาก และไม่ได้เพิ่มเติมอะไรให้โลกแห่งความรุ้และตอบสนองความต้องการของคนอยากเรียนรู้หลายๆคนเอาสะเลย
อีกประเด็นคือ มุสลิมเมืองไทย มีนิสัยการเรียนรุ้ที่ค่อนข้างแปลก คือตั้งกรอบของความรู้เอาไว้ว่า ฉันจะรุ้แบบนี้ แล้วถ้าอะไรที่มันอยู๋นอกกรอบความรู้ที่ฉันขีดไว้ฉันก็จะไม่อยากรับรู้ เห็นได้จาก คณะเก่าที่คิดว่าคณะเก่าเป็นสิ่งอื่นที่ไม่เหมือนตน และไม่อยากรับรู้
มุสลิมไทยก็เหมือนคนไทยทั่วไป อ่านน้อย และคิดน้อย ความคิดแบบเป็นตรรกะ ตัดสินผิดถูกนั้นไม่ได้ถูกหล่อหลอมมาในนิสัยของคนไทย เห็นได้ชัดตรงที่ คนไทยอ่านแล้วเชื่อเลย ไม่มีการแย้ง และไม่ค่อยจะถามว่าสิ่งที่อ่านนะจริงหรือมั๊ย เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาเป็นแก่นของการแย้งว่ามันถูกหรือมันผิด

หลายๆ ครั้งรับสื่อที่เขาอ้างว่าเป็นความรู้แล้วดันหาความรู้ไม่เจอ เพราะ หนึ่งคนนำเสนอก็ยังงงตัวเองอยู่ว่า ฉันเป็นใครแล้วฉันจะให้ความรู้กับใคร และความรู้อะไร หรือ สื่อบ้างอันก็เป็นแค่ตัวแปลภาษา จากอังกฤษเป็นไทยเพื่อง่ายต่อการรับรู้ แต่ไม่ได้เพิ่มความรู้อะไรให้กับโลกแห่งความรู้เอาสะเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น